TAWAN WATTUYA

PEEP SHOW ARCADE

September 1st, 2022 — October 2nd, 2022
Opening Reception: Thursday, September 1st, 6pm-8pm

131 Chrystie Street, New York, NY 10002
Gallery Hours: Friday-Sunday 1pm-6pm
and by appointment

SFA Projects is proud to present Peep Show Arcade, a one-person exhibition of new paintings by the Thailand based artist, Tawan Wattuya, opening on September 1st, 2022 and on view through October 2nd, 2022.

Tawan Wattuya, Game of Death, 2022
acrylic on canvas, 51″ x 63″

Warp Pop Game Drop: New Paintings by Tawan Wattuya

by Paul D’Agostino

Stirring and always evolving, Tawan Wattuya’s pictorial realm is a lively, vibrant, swirling, sometimes roaring dreamworld. It churns with a fervid, eclectic, and metamorphic array of images where the painter incorporates nimbly rendered, variably mediated, freely abstracted, even cartoonized visions of the world around him. In this ‘warp pop’ sphere of his own design, the Thai artist’s most enduring interest is to channel his painterly skills, passions, and curiosities into iterative reflections on the graphic punch, sultry allure, and societal bedazzlement characteristic of pop culture. 

From one body of work to the next, and from one of the artist’s dozens of solo exhibitions to subsequent ones, Wattuya seeks out material, subtly thematic, or subject-related ways to resist repeating himself while remaining steadfast in his devotion to seriality, exhaustive imagery, vivid palettes, saturated treatments, and a degree of compositional experimentation. His conceit is not one of reinventing wheels or charting new art historical trajectories. Rather, he finds that by pushing himself into and out of comfort zones, materially and conceptually, and by painting himself into unfamiliar corners, he’s better able to reckon with the suggestive complexities of the ranging enthusiasms, nostalgic imagery, and layered aesthetics that profoundly inspire him. 

Wattuya prefers to stay loose, expose his hand, strike very near likenesses, and keep commentary implicit. To this end, he has produced bodies of robustly washy, highly saturated, animatedly abstract watercolor paintings, often at rather large scale, of animals, plants, and the trappings of people – at times entailing political undertones – with substantial expanses of raw paper or gesturally applied washes serving as backdrops to his centralized compositions. He has also made scores of brushy and vibrantly fluid, close-up, mug-shot-like ink depictions of the classic monsters of cinema – vampires, werewolves, and swamp creatures, for instance – imbued with the likenesses of various, and often variably despicable, world leaders. He has cycled through numerous works where subjects seem to be barely there, gradually drifting into recognizability, and he has produced other series where he stays relatively loose while indulging in franker linework, heightened depiction, exaggerated semblances, and particularized, peculiarized familiarities. 

Along these latter lines, we see Wattuya indulging much in Peep Show Arcade, a solo exhibit featuring a selection of his most recent paintings. We even see him indulging thusly in a range of novel ways. While still employing his characteristic vibrant, saturated palettes, and working at his customary range of medium to large scales, he’s now working in acrylic on canvas, and exploiting the pictorial utility of virtually every last bit of his surfaces. His painterly hand is still readily present in his freely energetic brushstrokes, but his skillful use of acrylics shows him mixing and building up colors in new ways, and exploring how this less fluid medium can allow him to experiment with a full suite of different spatial dynamics, sharper delineations, starker contours, and fresh graphic effects. The excited state in which he’s been working through such possibilities is palpable even in the manners in which he activates, indeed hyperactivates his compositions. His subjects and imagery are not merely merged, but mashed up, interspersed, overlaid. Individual, diversely sourced forms and portrayals occupy the same space while operating with differentiable linework, stylizations, and palettes. Brimming and bustling, the artist’s new paintings register as pictorial assemblages of familiar visages, mediated images, and characters and personalities real and virtual. 

This space where eclectic samplings of pop cultural references commingle in collage-like compositions forms the crux of Wattuya’s ‘warp pop’ representations, and is emblematic of the optics in Peep Show Arcade. In his widely, wildly engaging new works, the artist entrances his viewers with interdisciplinary mashups of people, platforms, images, texts, and symbols mined from pop cultural miscellany and manifold modes of entertainment, escapism, and distraction. Here, Wattuya’s compositional treatments and levels of pictorial resolution range from blown-up, block-bit pixelations referencing bygone eras of video games to the blurred erotica of off-network cable transmissions; from the striking demarcations of comic book imagery to the fleshy corporeality of figures in still frames and photography; from the blatant texts and screaming graphics of movie posters and album covers, to the illustrational standards, postured portraitures, and schematic layouts of magazine and television advertisements. 

In a few instances, Wattuya integrates almost all such elements into one painting alone, leaving viewers to reckon with the implicit messaging of his juxtapositions and pastiche. His cowboy Elvis, for example, is at once a reference to Warhol, movie genres, and rock and roll, and he’s portrayed before an eventually resolving pornographic blur, an erotically charged trompe-l’œil. His playful rendering of Bruce Lee brawling with Jackie Chan is backdropped by the pixel-punchy graphics of the arcade game Kung-Fu Master, while above and around their pugnacious scuffle loom plentiful references to the military machinery and combustive hellfire of warfare. Superimposed before a zoomed-in swath of jungle flora from the classic video game Contra is an arousing portrayal of Grace Jones that is immediately recognizable as her while functioning, simultaneously, as a nod to James Bond. Wattuya’s takes on album covers and comic books, meanwhile, toy playfully with colors and text, and incorporate photo-bomb-like cameos and interventions by ersatz personages, atmospherics, and monsters. His dutifully fiery ode to Godzilla, for instance, sets all manner of imagery ablaze – including a soaring Wonder Woman, a strip of film frames, and the ambient landscape of a Toshiba Toho Calendar page. 

Tawan Wattuya’s ‘warp pop’ depictions in Peep Show Arcade dart in and out of warp zones at warp speeds, and they warp together imagery and aesthetic mannerisms from motley sources of pop culture and history. The artist’s experimentation with different media and treatments has allowed him to expand his repertoire of references while furnishing him with a newly informed, compositionally reinvigorated toolkit for bringing disparate allusions into energetic, enchanting confluence. Not unlike many video games, in a sense, Wattuya’s new works are time-traveling, space-bending picture planes. While the artist is wont to switch things up notably, and fruitfully, from one body of paintings to the next, viewers of Peep Show Arcade might want him to keep exploring the possibilities of his new ‘warp pop’ world a while longer. He has located, here, a paradoxically boundless sweet spot by painting himself into a new corner – one where he’s unlocked the pictorial cheat code he’s been painting for himself all along. 

Thai Version translated by Pakawadee Weerapaspong (ภัควดี วีระภาสพงษ์ )

ป๊อบแปลงสารเกมส์ปล่อยของ: ภาพวาดชุดใหม่ของตะวันวัตุยา

มีชีพจรเต้นเร่าและวิวัฒน์ไปข้างหน้าเสมอ  นั่นคือโลกจิตรกรรมของตะวัน วัตุยา  มันมีชีวิตชีวา ตื่นตัว บิดผัน บางครั้งดุจดังโลกแห่งความฝันที่คำรามกึกก้อง  หมุนวนด้วยจินตภาพที่เรียงร่ายอย่างเร่าร้อน หลากหลายและกลายสภาพ  พร้อมกันนั้นจิตรกรก็เสกสรรค์นิมิตภาพของโลกรอบตัวด้วยการนำเสนออย่างปราดเปรียว สื่อสารจากหลายแง่มุม ถอดนามธรรมอย่างอิสระ กระทั่งทำให้นิมิตภาพนั้นกลายเป็นการ์ตูน  ในปริมณฑลของ “ป๊อบแปลงสาร” ตามจิตมุ่งหมายของเขาเองนั้น ความสนใจที่ยืนยงที่สุดของศิลปินไทยผู้นี้คือการทุ่มเททักษะการวาดภาพ ความหลงใหลและความสงสัยใคร่รู้ให้กลายเป็นการการสะท้อนย้อนคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมป๊อบที่มีจุดแข็งด้านกราฟิก ยั่วยวนทางเพศและเจิดจ้าเฉิดฉายจนสังคมตาลาย

จากผลงานชุดแล้วชุดเล่า และจากนิทรรศการเดี่ยวหลายสิบครั้งของศิลปินผู้นี้จนถึงนิทรรศการครั้งต่อๆ มา ตะวันค้นหาหนทางทั้งในด้านวัสดุ แก่นสารอันละเอียดอ่อน หรือสิ่งที่เกี่ยวพันกับเนื้อหา เพื่อขัดขืนต่อการซ้ำรอยตัวเอง ขณะเดียวกันก็ปักหลักมั่นคงในการอุทิศจิตใจให้แก่การวาดภาพเป็นชุด การเก็บรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน สีสันจัดจ้าน ความอิ่มตัวของเนื้อสี และการทดลององค์ประกอบภาพอย่างมีนัยสำคัญ  จุดเด่นของตะวันไม่ใช่การพยายามเดินตามรอยใครหรือบุกเบิกเส้นทางโคจรของประวัติศาสตร์ศิลปะวิถีใหม่  แต่เขาค้นพบว่าการผลักดึงตัวเองเข้าออกพื้นที่คุ้นเคย ทั้งในเชิงวัสดุและความคิด ด้วยการวาดภาพจากซอกมุมที่ไม่คุ้นชิน เขาสามารถเข้าถึงความซับซ้อนของพลังชีวิตที่หลากหลาย จินตภาพอันโหยหาและสุนทรียะที่ซุกซ้อนหลายชั้น ซึ่งปลุกเร้าและเป็นแรงบันดาลใจให้เขาอย่างลึกซึ้ง

ตะวันชอบปล่อยตามสบาย เปิดเผย วาดจนเกือบคล้ายต้นแบบ และซ่อนความคิดเห็นไว้เป็นนัย  ด้วยบุคลิกเช่นนี้ เขาจึงสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำจำนวนมากที่ชุ่มฉ่ำมีชีวิตชีวา สีสันอิ่มเอิบ มีความเป็นนามธรรมที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง มักเป็นรูปขนาดใหญ่ ทั้งรูปสัตว์ พืช และรูปลักษณ์ภายนอกของผู้คนในสถานภาพต่างๆ –บ่อยครั้งที่มีนัยยะทางการเมืองซ่อนเร้น— โดยทิ้งเนื้อกระดาษรอบนอกไว้พอสมควรหรือปาดสีระบายเป็นฉากหลังให้แก่องค์ประกอบภาพตรงกลาง  มีอีกหลายชิ้นที่ลงสีอย่างเลื่อนไหลสั่นไหวและเห็นฝีแปรงชัดเจน ภาพโคลสอัพ ภาพวาดด้วยหมึกคล้ายรูปใบหน้าคนร้ายของอสุรกายอมตะในวงการภาพยนตร์ อาทิ แวมไพร์ มนุษย์หมาป่า และสัตว์ประหลาดจากหนองน้ำ  ผสมผสานกับเค้าหน้าของผู้นำโลกหลายคนและมักเป็นคนต่ำทรามที่น่ารังเกียจในหลายเรื่อง  เขาผลิตผลงานหลายต่อหลายชุดที่ดูคล้ายสิ่งที่วาดไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่ค่อยๆ ซึมซับเข้าสู่ความรับรู้ทีละน้อย  และเขาก็ผลิตผลงานชุดอื่นๆ ที่ค่อนข้างปล่อยสบายกว่า ในขณะเดียวกันก็มีลายเส้นที่แจ่มชัดกว่า นำเสนออย่างเข้มข้นขึ้น สร้างความคล้ายคลึงจนเด่นชัด และบอกเล่าสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคยอย่างละเอียดและเฉพาะเจาะจง

เราจะเห็นตะวันโลดเริงไปกับแนวทางแบบหลังนี้ใน Peep Show Arcade การแสดงนิทรรศการเดี่ยวที่คัดสรรผลงานภาพวาดในระยะหลังเกือบทั้งหมด  เราได้เห็นเขาพาตัวเองไปสู่เส้นทางแปลกใหม่หลากหลายเส้นทาง  แม้ยังใช้สีสันเอิบอิ่มมีชีวิตมีชีวาอันเป็นเอกลักษณ์และสร้างสรรค์ผลงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เช่นเคย  แต่ครั้งนี้เราได้เห็นเขาสร้างผลงานด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบและวาดภาพเต็มทุกตารางนิ้วบนผืนผ้าอย่างแท้จริง  ลายฝีแปรงอันมีบุคลิกเฉพาะตัวของเขายังคงปรากฏชัดในทุกปาดป้ายที่ปลดปล่อยพลังอย่างเสรี แต่การใช้สีอะคริลิกอย่างมีทักษะชั้นเชิงเผยให้เห็นว่าเขามีการผสมสีและการระบายทับด้วยวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งสำรวจไปพลางในระหว่างทางว่า วัสดุสีชนิดที่เหลวน้อยกว่าสีน้ำจะเอื้อให้เขาทดลองอะไรได้บ้างกับความเปลี่ยนแปลงชุดใหญ่ ทั้งพลวัตของพื้นที่ภาพที่แตกต่างออกไป การตัดเส้นที่คมกว่าเดิม โครงร่างที่แข็งขึงขึ้น และงานวาดแนวกราฟิกที่สดใหม่  ภาวะตื่นเต้นที่เขาได้ทำงานท่ามกลางความเป็นไปได้ใหม่ๆ เหล่านี้เด่นชัดจนสัมผัสได้ในลักษณาการที่เขาบันดาลพลังชีวิตหรืออันที่จริงคือเร่งเร้าพลังชีวิตให้องค์ประกอบภาพ  เรื่องราวและจินตภาพของเขาไม่เพียงแค่มาบรรจบกัน แต่ยังขยำรวม กระจายออก ซ้อนทับ  แต่ละรูปทรงและแต่ละภาพบุคคลซึ่งมีที่มาจากหลากหลายแหล่งครอบครองพื้นที่ร่วมกัน พร้อมกับแสดงออกด้วยลายเส้น ลีลาและสีสันที่แตกต่างจากกันอย่างเห็นได้ชัด  ความคึกคักจนเปี่ยมล้นโฉ่งฉ่างนี้ทำให้ภาพวาดชุดใหม่ของศิลปินเป็นภาพวาดอันผสมผเสไปด้วยใบหน้าคุ้นตา ภาพพจน์ในสื่อแต่ละยุคสมัย ตัวละครและคนดังทั้งในโลกจริงและโลกเสมือน

พื้นที่ในภาพวาดชุดนี้สรรผสานตัวอย่างที่อ้างอิงวัฒนธรรมป๊อบจากหลากหลายแหล่งมาคลุกเคล้ากันในองค์ประกอบแบบศิลปะคอลลาจ จนกลายเป็นแก่นกลางในการนำเสนอ “ป๊อบแปลงสาร” ของตะวันและเป็นจุดเด่นของการนำเสนอทัศนศิลป์ในนิทรรศการ Peep Show Arcade  ในผลงานชุดใหม่ที่ครอบคลุมเนื้อหากว้างใหญ่และบ้าคลั่ง ศิลปินสร้างความพิศวงและตื่นตาตื่นใจแก่ผู้ชมด้วยการขยำรวมบุคคล ฉากหลัง จินตภาพ ข้อความและสัญลักษณ์ ที่เก็บเกี่ยวจากเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของวัฒนธรรมป๊อบและวงการบันเทิง อุตสาหกรรมประเทืองอารมณ์และนันทนาการหลากหลายรูปแบบ  ในนิทรรศการชุดนี้ การจัดองค์ประกอบภาพของตะวันและระดับความคมชัดของภาพมีตั้งแต่การขยายขนาด การใช้ศิลปะแบบพิกเซลที่มีลักษณะเป็นกล่องเหลี่ยมเล็กๆ เพื่อพาดพิงถึงยุคของวิดีโอเกมส์สมัยก่อน จนถึงการเบลอฉากโป๊เปลือยในเคเบิลทีวีสมัยที่ยังไม่ได้ถ่ายทอดทางอินเทอร์เน็ต  จากภาพในหนังสือการ์ตูนที่แบ่งเป็นช่องๆ ตัดเส้นชัดเจนจนถึงตัวละครที่มีเนื้อมีหนังในเฟรมหรือภาพถ่ายนิ่ง  จากข้อความทื่อๆ และกราฟิกเตะตาของโปสเตอร์ภาพยนตร์และหน้าปกอัลบั้มจนถึงภาพประกอบตามมาตรฐาน ศิลปะการจัดท่าภาพบุคคล และสูตรสำเร็จในการจัดหน้านิตยสารและโฆษณาทางโทรทัศน์

หากจะลองหยิบยกมาสักสองสามตัวอย่าง  ตะวันผสมผสานองค์ประกอบเกือบทั้งหมดข้างต้นไว้ในภาพเขียนเพียงชิ้นเดียว ปล่อยให้ผู้ชมใคร่ครวญหาสารที่แฝงเร้นในการจับคู่และคลุกเคล้า  อาทิ ภาพโคบาลเอลวิสของเขาเป็นทั้งการอ้างอิงถึงแอนดี้ วอร์ฮอล หนังคาวบอย ดนตรีร็อคแอนด์โรล และฉากหลังคือภาพโป๊ที่ถูกเบลอ ภาพสามมิติที่เต็มไปด้วยความเย้ายวนเชิงกามารมณ์  ตะวันวาดภาพบรู๊ซ ลีบู๊กับเฉินหลงอย่างมีอารมณ์ขัน บนฉากหลังที่เป็นศิลปะกราฟิกแบบพิกเซลของเกมอาร์เคด Kung-Fu Master ขณะที่เบื้องบนและรอบๆ การโรมรันพันตูอย่างดุเดือดของทั้งสองสอดแทรกไว้ด้วยสัญญะมากมายที่พาดพิงถึงพาหนะรบทางการทหารและเปลวระเบิดของสงคราม  หรือบนฉากหลังที่ขยายภาพต้นไม้ในป่าจากวิดีโอเกมคลาสสิก Contra  นางแบบเกรซ โจนส์ยืนโพสท่ายั่วยวนชวนให้จำเธอได้ทันที ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้ชมประหวัดนึกถึงหนัง James Bond ไปด้วย  ภาพวาดของตะวันที่ล้อปกอัลบั้มและหนังสือการ์ตูน พร้อมกันนั้นก็เล่นกับสีสันและข้อความอย่างน่าชวนหัว รวมทั้งสอดแทรกการโผล่เข้ามาขโมยซีนของภาพล้อคนดัง คลื่นรบกวนและอสุรกาย  ยกตัวอย่างเช่น ภาพที่ตั้งใจเขียนเพื่อเป็นอนุสรณ์อันโชติช่วงแด่ก๊อดซิลลาเต็มไปด้วยภาษาภาพที่บ่งบอกถึงเปลวเพลิงและการปะทุระเบิด รวมทั้งวันเดอร์วูแมนที่กำลังเหาะเหิน มีเฟรมภาพยนตร์แถบหนึ่งอยู่ด้านข้าง และภูมิทัศน์ล้อมรอบตามแบบปฏิทินโปรโมทหนังของบริษัทโตโฮ

การนำเสนอ “ป๊อบแปลงสาร” ของตะวัน วัตุยาในนิทรรศการ Peep Show Arcade คือการพุ่งเข้าพุ่งออกทางช่องวาร์ปด้วยความเร็วเหนือแสง รวมทั้งยังบิดผันจินตภาพและจริตทางสุนทรียะจากสารพันแหล่งในวัฒนธรรมป๊อบและประวัติศาสตร์มาผสมเคล้ากัน  การที่ศิลปินทดลองกับสื่อและเทคนิคที่แตกต่างจากเดิมเปิดช่องให้เขาได้ขยายขุมคลังของการอ้างอิง พร้อมกันนั้นก็เอื้อให้เขามีชุดเครื่องมือใหม่ๆ มาช่วยเติมความกระปรี้กระเปร่าให้แก่องค์ประกอบภาพและการสื่อสาร เพื่อนำพาการพาดพิงจากสารพัดแหล่งให้มาบรรจบรวมกันอย่างมีพลังและมีเสน่ห์น่าหลงใหล  ในบางแง่ ผลงานชุดใหม่ของตะวัน วัตุยาก็คล้ายกับวิดีโอเกมส์  เปรียบเสมือนจิตรกรรมยานเหาะที่เดินทางข้ามเวลาและลัดอวกาศ  ถึงแม้ศิลปินผู้นี้มักชอบเปลี่ยนแนวจากจิตกรรมชุดหนึ่งกับชุดต่อไป ซึ่งเป็นลักษณะอันโดดเด่นและสร้างสรรค์ของตัวเขา  แต่ผู้ชมนิทรรศการ Peep Show Arcade คงอยากให้เขาสำรวจความเป็นไปได้ต่างๆ ในโลก “ป๊อบแปลงสาร” ใบใหม่นี้ต่อไปอีกสักหน่อย  ในโลกพิศวงใบนี้ ตะวันสร้างความย้อนแย้งด้วยการปักหมุดหมายให้ตัวเองในจุดลงตัวไร้ขีดจำกัดด้วยการนำพาภาพวาดของตนเข้าสู่ซอกมุมใหม่  ซอกมุมที่เขาถอดรหัสโกงเกมส์ภาพวาดที่เขาวาดเพื่อความรื่นรมย์ของตัวเองมาตลอด